อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาลตำบล
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2562) และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 (และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549) ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ได้กำหนด ได้แก่
1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. ให้มีและบำรุงทางบกและทาง
3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัด มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9. หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
2. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ได้กำหนด อำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบล อาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ได้แก่
1. ให้มีนํ้าสะอาดหรือการประปา
2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
4. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
5. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
6. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
8. ให้มีและบำรุงทางระบายนํ้า
9. เทศพาณิชย์
3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 (และแก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549) มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางนํ้าและทางระบายนํ้า
3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
5. การสาธารณูปการ
6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9. การจัดการศึกษา
10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14. การส่งเสริมกีฬา
15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18. การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และนํ้าเสีย
19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22. การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์
23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณะอื่นๆ
24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25. การผังเมือง
26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28. การควบคุมอาคาร
29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
31. กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
**************************************************************
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเทศบาลตำบลแม่ระมาด
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
1. ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม และบำรุงรักษา ถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ แหล่งน้ำสาธารณะ
2. ปรับปรุง ซ่อมแซม และขยายเขตการให้บริการประปา
3. ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า
4. การพัฒนาการใช้ที่ดินในเขตเมือง
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
1. ส่งเสริมอาชีพ และเพิ่มรายได้แก่ประชาชน
2. ปรับปรุง และพัฒนาสถานที่ประกอบอาชีพ
3. การพัฒนาสิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการเพื่อการท่องเที่ยว
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
1. ป้องกันโรคติดต่อและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการสังคมสงเคราะห์ สงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และผู้ประสบสาธารณภัย
3. ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา
4. ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาเด็กและเยาวชน
5. ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ
6. ส่งเสริมและพัฒนาชุมชน
8. ส่งเสริมและสนับสนุนเด็ก เยาวชนในวัยเรียนได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา บำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาคุณภาพดินให้เหมาะสม
4. ส่งเสริมและปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการขยะชุมชน
5. ส่งเสริมสนับสนุนและปรับปรุงฟื้นที่สาธารณะ
6. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
7. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
1. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการเมือง การบริหารจัดการองค์กร
และการบริหารบุคลากรท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมท้องถิ่น
3. การพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร
4. ปรับปรุงพัฒนารายได้
5. ปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และสถานที่ปฏิบัติงาน
6. ปรับปรุงทะเบียนและเอกสารงานทะเบียนราษฎร
7. เสริมสร้างมาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
8. ส่งเสริมให้มีการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของชุมชน
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศาสนาและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ
แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
1.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมของท้องถิ่นมากขึ้น
2.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนร่วมกิจกรรมทางศาสนามากขึ้น
3.การศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นได้รับการสืบสาน
4.ส่งเสริม อนุรักษ์ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น รัฐพิธีและวันสำคัญต่างๆ