สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
สถาบันการศึกษาภายในเขตเทศบาลตำบลแม่ระมาด มีดังต่อไปนี้
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2
-โรงเรียนแม่ระมาดวิทยาคม
-โรงเรียนบ้านแม่ระมาดราษฎร์บำรุง
-โรงเรียนบ้านห้วยนกแล
สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
-ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สังกัดเทศบาลตำบลแม่ระมาด
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ระมาด หมู่ที่ 4
การทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสถาบันการศึกษา
-วิทยาลัยชุมชนตากห้องเรียนเทศบาลตำบลแม่ระมาด
4.2 สาธารณสุข
1.โรงพยาบาลในเขตพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จำนวน 1 แห่ง เตียงคนไข้ จำนวน 100 เตียง
(ให้บริการจริงๆ 100 เตียง ตามกรอบ 60 เตียง)
2.ศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง
3.คลินิกเอกชน จำนวน 2 แห่ง (ในเขต 1 แห่ง นอกเขต 1 แห่ง)
4.บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกสังกัดในเขตพื้นที่
- แพทย์ |
จำนวน |
7 คน |
- ทันตแพทย์ |
จำนวน |
4 คน |
- สาธารณสุขอำเภอ |
จำนวน |
1 คน |
- เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน |
จำนวน |
14 คน |
- พยาบาล |
จำนวน |
70 คน |
- เภสัชกร |
จำนวน |
5 คน |
4.3 อาชญากรรม
สถิติอาชญากรรมประเภทต่างๆ ในช่วง ปี พ.ศ.2558 ปี พ.ศ. 2561:แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มคดีชีวิต ร่างกาย และเพศ |
จำนวน |
13 คดี |
2) กลุ่มคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ |
จำนวน |
4 คดี |
3) กลุ่มคดีที่น่าสนใจ |
จำนวน |
1 คดี |
4) กลุ่มคดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย |
จำนวน |
52 คดี |
5) อื่นๆ เมาสุราหรือของมึนเมา |
จำนวน |
24 คดี |
4.4 ยาเสพติด
1. ผู้เสพยาเสพติด จำนวน 26 ราย
2. ผู้จำหน่าย จำนวน 2 ราย
(ข้อมูลจากสถานีตำรวจภูธรแม่ระมาด ณ วันที่ 5/06/2562 )
4.5 การสังคมสงเคราะห์
เทศบาลตำบลแม่ระมาดได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
(๑) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 874 ราย ผู้พิการ จำนวน 210 ราย และผู้ป่วยเอดส์
(๒) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(๓) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
(๔) ดำเนินโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน
(๕) ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป
(๖) ดำเนินโครงการสงเคราะห์ครอบครัวผู้ยากไร้ที่ตกเกณฑ์ จปฐ.
(๗) ดำเนินโครงการสร้างและซ่อมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้ รายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
(๘) อุดหนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน
(๙) ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม
4.6 การนับถือศาสนา
ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละประมาณ 95 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลโดยมีวัด จำนวน 3 แห่ง
1.วัดดอนมูล
2.วัดศรีบุญเรือง
3.วัดดอนแก้ว
ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล โดยมีโบสถ์คริสต์ จำนวน 1 แห่ง
4.7 ประเพณีและงานประจำปี
1.ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานาน โดยมีการทำบุญตักบาตรและงานรื่นเริงต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นงานประเพณี ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลกับทุกคน ในวันขึ้นปีใหม่
2.ประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี มีพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ก่อพระเจดีย์ทราย สรงน้ำพระพุทธรูปหินอ่อน และสาดน้ำตามประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน
3.งานประเพณีทำบุญกลางบ้าน เพื่อเป็นการทำบุญสืบชะตา สะเดาะเคราะห์และเสริมดวงชะตาให้แก่ประชาชน
4.งานประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่ประชาชนได้ทำพิธีขอขมาพระแม่คงคาที่ได้ใช้ในการอุปโภค-บริโภค โดยการทำบุญเลี้ยงพระ บริเวณริมแม่น้ำในช่วงเช้า และมีงานประกวดกระทง นางนพมาศ ขบวนแห่กระทง งานรื่นเริงในช่วงกลางคืน
5.ประเพณีใส่ข้าวพระพุทธ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานาน ของชาวไทยภาคเหนือเป็นประเพณีเกี่ยวกับการทำบุญ หาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่วัดให้วัดเพื่อใช้ในการทำบุญของวัด และให้ประชาชนได้ยืมใช้ในการจัดงานต่างๆ โดยจัดในวันเพ็ญเดือน 10 ของทางภาคเหนือ
6.ประเพณีตานก๋วยฉลาก เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ตั้งเดิม จะทำกันในช่วงก่อนออกพรรษาประมาณ 1 เดือน การเตรียมก๋วยสลากซึ่งจะมีผลไม้ ข้าวสาร อาหารแห้งไปวัด ฟังเทศน์เป็นการถวายสังฆทานให้บุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว
4.8 สินค้าพื้นเมือง ของฝาก และของที่ระลึก
1.เฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้ เช่น บันไดมหัศจรรย์ เก้าอี้ โต๊ะ ตู้ต่างๆ
2.กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยอบธัญพืช กล้วยอบน้ำผึ้งกระชายดำ มะขามอบน้ำผึ้ง กล้วยอบ-ม้วน มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงสามรส
3.สมุนไพรใบหม่อน สมุนไพรดอกอัญชัญ สมุนไพรตะไคร้
|